QR Code

LINE Official

@interhome

หน้าหลัก ฝากขายบ้าน
ฝากขายที่ดินกับเรา
ติดต่อ ฝากซิ้อ
ฝากขายบ้าน ที่ดิน
ทีมงานมืออาชีพ

อสังหาฯผุด สารพัดแผน แก้เกมสต็อกล้น-ศก.ทรุด



          สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ขยายวงกว้างไปในหลาย ๆ ประเทศ กระทบต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงเศรษฐกิจไทย ฉุดกำลังซื้อในหลากหลายสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่มีราคาสูง อย่างอสังหาริมทรัพย์ ที่ชะลอตัวชัดเจน เป็นเหมือนเคราะห์ซ้ำของธุรกิจนี้ หลังจากปีที่ผ่านมา ไม่ใช่ปีดี จากภาพรวมเศรษฐกิจชะลอตัว ผสมโรงกับการเผชิญมาตรการคุมเข้มสินเชื่ออสังหาฯ ทำให้ซัพพลาย คงค้างอยู่ในตลาดหลายหมื่นยูนิต โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม ทำให้ "นักพัฒนาอสังหาฯ" ต้องปรับแผนธุรกิจให้สอดรับกับ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งการพลิกแผน และดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวัง

           วิทการ จันทวิมล รองกรรมการ ผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ปีนี้ถือเป็นปีที่ท้าทายสำหรับทุกธุรกิจจากซัพพลายคงค้างของคอนโดที่มีจำนวนมาก ทำให้ปีนี้บริษัทต้องมองหาตลาดที่ยังมีความต้องการ โดยจะเน้นการพัฒนาโครงการแนวราบไปยังภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ จำนวน 4-5 โครงการ เพื่อรองรับ กำลังซื้อในอนาคต

            โดยเห็นว่า "ตลาดต่างจังหวัดใน หัวเมืองรอง" ยังมีกำลังซื้อจากกลุ่มเศรษฐีจำนวนมาก และการแข่งขันไม่รุนแรงเหมือนในกรุงเทพฯและหัวเมืองใหญ่ ที่มีคู่แข่ง จำนวนมาก โดยจะเริ่มที่จ.นครศรีธรรมราช ในไตรมาส 3 ปีนี้ ขณะที่การเปิดตัวคอนโด ลดลงเหลือ4 โครงการจากปีที่ผ่านมาเปิดตัว 6 โครงการเนื่องจากตลาดคอนโดมีอัตราการดูดซับลดลง พร้อมกันนี้บริษัทได้ขยายฐานลูกค้าระดับกลางมากขึ้น เฉลี่ยยูนิตละ 3- 6 ล้านบาท หรือระดับราคาต่ำกว่า2แสนบาทต่อตร.ม.

          ชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ อนันดาฯ เปรียบเปรยสถานการณ์อสังหาฯในขณะนี้ว่า เหมือนขับรถ ในช่วงที่พายุเข้ามาทำให้กระจกมัวมองอะไรไม่เห็นต้องรอให้พายุฝนผ่านไปก่อนค่อยเร่งเครื่อง ดังนั้นในช่วงนี้จะนำสินค้าพร้อมขายในมือทั้งหมด ที่มีอยู่เฉพาะที่สร้างเสร็จพร้อมโอน มีจำนวน 38 โครงการมูลค่า 20,000 ล้านบาทมาจากคอนโด 30 โครงการจำนวน 2,700 ยูนิต มูลค่า 18,000 ล้านบาท ที่เหลือ2,000 ล้านบาท เป็นแนวราบก่อน

          เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ประเมินว่า ภาพรวมตลาดอสังหาฯไตรมาสแรกปีนี้ได้รับกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก  ทำให้บรรยากาศการทำธุรกิจหยุดชะงักไปทั่ว

          อย่างไรก็ตามแม้ตลาดอยู่ในช่วง ขาลง แต่ยังถือว่าเป็นโอกาสที่ดีผู้ซื้อที่มีความพร้อมและมีความสามารถในการใช้จ่าย และต้องการที่อยู่อาศัย เนื่องจากมาตรการต่างๆ ของภาครัฐ และอัตราดอกเบี้ยต่ำเอื้อต่อ การซื้ออสังหาฯ ประกอบกับเป็นช่วงที่ดีเวลลอปเปอร์ส่วนใหญ่แข่งขันกันทำโปรโมชันและส่วนลดเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ

           ขณะที่กลยุทธ์ที่จะผลักดันให้บริษัทเติบโตในปีนี้ คือการร่วมกับบริษัท ฮันคิว ฮันชิน พร็อพเพอร์ตี้ คอร์ป ลงทุนพัฒนาโครงการ ทาวน์โฮม ภายใต้แบรนด์เสนา วีว่า เสนา วิลลา ที่มีระดับราคาตั้งแต่ 1.5-3 ล้านบาท เสนาวิลเลจ บ้านแฝด ราคา 3-5 ล้านบาท เสนาวิลล์ จะเป็นบ้านแฝดและทาว์เฮ้าส์ ราคา 5-10 ล้านบาท ร่วมกันเป็นครั้งแรก รวมถึงคอนโดต่ำล้านหรือน้อยว่า3.5หมื่นต่อยูนิต ภายใต้แบรนด์เดอะคิทท์ ในย่านปริมณฑลส่วนแบรนด์ สแลช ซึ่งเป็นซิตี้คอนโดระดับราคา 1-2 ล้านบาทต่อยูนิต หรือ 4-7 หมื่นบาทต่อตร.ม. เพื่อขยายฐานลูกค้าระดับกลาง-ล่าง

ด้าน พีระพงศ์ จรูญเอก ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้  จำกัด (มหาชน)  มองว่า สถานการณ์โควิด-19 ครั้งนี้เป็นวิกฤติกระทบเศรษฐกิจทั่วโลกและต้องยอมรับว่าเป็นปีที่ยากสุดในรอบ 20 ปี เพราะเป็นปัจจัยที่คาดเดาไม่ได้ ดังนั้น ในปีนี้บริษัทจึงเดินหน้าทรานส์ฟอร์มองค์กรเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงของโลก แตกบริษัทย่อยออกมา 6 กลุ่มบริษัท 6 ประเภทธุรกิจ เพื่อกระจายพอร์ตโฟลิโอ ธุรกิจให้หลากหลายมากขึ้น ทั้งอสังหาฯ เพื่อขายในกลุ่มคอนโดและแนวราบขยายไปธุรกิจเช่าและบริการ ทั้งโรงแรมและเซอร์วิสดูแลที่อยู่อาศัยครบวงจร รวมทั้งธุรกิจใหม่ ที่ไม่ใช่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ อสังหาฯ เพื่อสร้างแหล่งรายได้ใหม่

           กลยุทธ์สร้างการเติบโตของออริจิ้น คือ การเปิดกว้างในการร่วมทุนกับพันธมิตรหลากหลายรูปแบบในทั้ง 6 บริษัทและธุรกิจใหม่ ทั้งการร่วมลงทุน, โนว์ฮาว และเซอร์วิส ซึ่งถือเป็นเทรนด์ทั่วโลกของภาคธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือ ทั้งธุรกิจประเภทเดียวกันและต่างธุรกิจ เพื่อโอกาสเติบโตก้าวกระโดด และก้าวข้าม ขีดจำกัดดั้งเดิมของตัวเองเพื่อสเกลธุรกิจได้เร็ว และเติบโตอย่างไร้ขีดจำกัด

           ขณะเดียวกัน ท่ามกลางภาวะตลาดคอนโด 'ขาลง'ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กที่มีสายป่านสั้น จึงเป็นโอกาสรายใหญ่ หรือกลุ่มทุนที่มีเงินทุน ไม่ว่าจะเป็น โกลเด้นแลนด์ ธุรกิจพัฒนาอสังหาฯในเครือไทยเจริญ คอร์ปอเรชั่น (ทีซีซี กรุ๊ป) ของเจ้าสัว เจริญ สิริวัฒนภักดี, ออริจิ้น, ชีวาทัย, พราว เรียล เอสเตท ในการซื้อคอนโดที่พัฒนามาแล้วมาบริหารและขายต่อ ซึ่งไม่มีความเสี่ยงด้านการขอใบอนุญาตวิเคราะห์ผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) ทำให้การดำเนินการ ขายรวดเร็วและสามารถรับรู้รายได้เร็ว

เศรษฐกิจขาลง สต็อกล้น เป็นโอกาสรายใหญ่ ซื้อคอนโด ที่พัฒนามาแล้ว มาบริหารและขายต่อ

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

วันที่ : 13 มีนาคม 2563

แบ่งปันเรื่องราวที่น่าสนใจ

บนช่องทางสื่อออนไลน์ต่างๆ

Share On Line

คัดลอกบทความ