QR Code

LINE Official

@interhome

หน้าหลัก ฝากขายบ้าน
ฝากขายที่ดินกับเรา
ติดต่อ ฝากซิ้อ
ฝากขายบ้าน ที่ดิน
ทีมงานมืออาชีพ

อนันต์ ชี้อันตรายอสังหาฯเร่งโต



อนันต์ ชี้อันตรายอสังหาฯเร่งโต

ปี2561 แม้ว่าแนวโน้มอสังหาริมทรัพย์ ยังอยู่ในทิศทางที่ดี แต่ขณะเดียวกันยังมีความท้าทายต้องจับตามองท่ามกลาง “โอกาสและพื้นที่” ที่ยังเหลือให้คนที่เห็นช่องทางเข้าไปพัฒนา แม้ว่า“ราคา”จะสูงขึ้นอย่างมากก็ตาม

ในการเสวนาภายใต้หัวข้อ “กลยุทธ์และการปรับตัวธุรกิจอสังหาริมทรัพย์2561” จัดโดย The Next Institue by SIU  

อนันต์ อัศวโภคิน อดีตประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์  และผู้ก่อตั้งหลักสูตร The Next Real กล่าวด้วยประสบการณ์ในแวดวงอสังหาฯกว่า 43 ปี มองว่า ปัจจัยเฉพาะหน้าที่ต้องจับตามองในปีนี้ มี 4 เรื่องสำคัญ

จับตาอัตราดอกเบี้ย

อันดับแรก คือ “อัตราดอกเบี้ย” ที่น่าจะสูงขึ้นสังเกตจากหลายประเทศ ซึ่งปริมาณเงินในระบบ(มันนี่ ซัพพลาย) ไม่ได้มีสภาพคล่องเหมือนเดิม แต่ปัจจัยที่ 2 ซึ่งจะส่งผลในเชิงบวกแทน คือ ธนาคารพาณิชย์ของไทยจะเริ่ม“เรียนรู้เรื่องการปล่อยสินเชื่อ” และคุ้นเคยกับการปล่อยสินเชื่อรายย่อยมากขึ้น จากเดิมที่มียอดตีกลับไป 30-40% เชื่อว่าในปีนี้จะมีอัตราลดลงเพราะปรับตัวและเรียนรู้จากปัญหาที่ผ่านมา

ปัจจัยที่3 คือ“ปัญหาแรงงาน” ที่ยังมีการขาดแคลนต่อเนื่อง ส่งผลให้ที่ผ่านมาผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายใหญ่หันมาใช้ระบบก่อสร้างแบบพรีแฟบกันหมดแล้ว และ ปัจจัยที่ 4 คือการหันมาใช้“เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต”ในการบริหารมากขึ้นสอดรับกับเทรนด์ Internet of Things (IoT) มาช่วยเชื่อมโยงการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

เมื่อฉายภาพธุรกิจอสังหาฯในปีที่ผ่านมา อนันต์ กล่าวว่า หากสังเกตกำลังซื้อของผู้บริโภคผ่านบริษัทจดทะเบียน 10 อันดับแรกจะพบว่าไม่มีใครแย่ลง และมีผลงานดีขึ้นเกือบทุกบริษัทหรือหากไม่เติบโตก็ทรงตัวรักษาฐานของตัวเองไว้ได้

การเติบโตของธุรกิจอสังหาฯไทย เกิดจากรายใหญ่ขยายตลาดและไปกินตลาดรายกลางและเล็กมากขึ้น ที่ผ่านมาการเติบโตจากการแย่งลูกค้ากันเอง ซึ่งกำลังซื้อของคนก็ไม่ได้ตกไปมากมายในช่วง 2-3ปี อาจเปลียนแปลงไปบ้าง สังเกตได้ว่าราคาต่ำกว่าล้านบาทอาจขายไม่ได้ แต่ตลาดราคา 6-7 ล้านบาทกลับขายดีกว่าเก่า

“สถานการณ์ดังกล่าวบ่งบอกว่าตลาดบนนั้น รายได้ประชากรไม่ได้แย่ลง แต่ตลาดล่างอาจจะแย่ลง เมื่อดูตามสภาพที่เกิดขึ้นจริง”

สำหรับการพัฒนาในปัจจุบัน อีกปัญหาที่เกิดขึ้นคือ “ความรีบร้อนเกินไป” มีการเร่งซื้อที่ดินกันจำนวนมาก ทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้นแบบไม่มีเหตุมีผล เช่นกรณีของที่ดินย่านหลังสวน ที่ราคาขึ้นไปถึงตารางวาละกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งยังมองไม่ออกว่าจะนำไปพัฒนาโครงการประเภทใด

“ราคาที่ดินมันไม่เมกเซนส์แล้ว เพราะดีเวลลอปเปอร์อยากจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จึงเร่งก่อสร้างกัน เร่งซื้อและเร่งขาย สุดท้ายก็เร่งมีปัญหากันหมด และเมื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้วก็อยากเติบโตเร็ว ซึ่งเป็นเรื่องอันตราย ข้อเท็จจริงบริษัทดำเนินการเป็นอย่างไร ก็ควรจะเป็นอย่างนั้น”

อย่างไรก็ตามยังเชื่อมั่นว่า"อสังหาฯ ไทยยังมีโอกาสเต็มไปหมด” อย่างเช่นบริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์  มีโรงแรมในเครือที่เทอร์มินัล 21 อโศก แต่ก็เตรียมจะลงทุนสร้างสำนักงานขึ้นอีก เพราะตลาดยังมีราคาที่ไปได้รวมถึงกลุ่มชอปปิงมอลล์,ห้างค้าปลีก ขณะเดียวกันก็มองโอกาสพัฒนาไปยังประเทศอื่นๆ จุดหมายที่เป็นเป้าหมายน่าสนใจ ขณะนี้ได้แก่ อเมริกา ที่บริษัทไปลงทุนซื้ออพาร์ตเมนต์ไว้จำนวนมาก แต่ศูนนย์การค้าปัจจุบันราคาลดลง หากไปลงทุนไว้พัฒนาธุรกิจรีเทลได้ก็น่าจะไปได้ด้วยดี

อนันต์ กล่าวด้วยว่านักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รุ่นใหม่ ยังเริ่มเร็วเกินไปและทำงานแบบไม่ละเอียดไม่มีแบบแผนในการทำงานที่เป็นระบบ แต่หากปรับตัวมาเน้นการสร้างมาตรฐาน สังเกตเห็นได้จากการปรับตัวของแลนด์แอนด์เฮ้าส์เองมาเน้นมาตรฐานงานก่อสร้างทำให้ขายบ้านได้ในราคาที่ดีและแนวโน้มผลประกอบการในปีที่ผ่านมาที่ดีมาก ทั้งที่ใช้งบโฆษณาน้อยมากแต่ยอดขายน่าจะดีที่สุดและสามารถทำกำไรดีที่สุด โดย 50% มาจากการบอกแบบปากต่อปากแนะนำกันเองของลูกค้า

“ตลาดทุกวันนี้เร่งมากเสียจนสินค้าออกมาไม่ดีเลย ถ้าตั้งใจทำจริงตลาดบ้านยังไปได้อีกไกล โอกาสยังมีอีกมาก" 

ปัญหาที่ปรากฎชัด คือการร้องเรียนเรื่องบ้านยังขึ้นเป็นอันดับ 1 ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) ที่คนร้องเรียนทั้งที่จริงแล้วตลาดบ้านถือเป็นตลาดเฉพาะกิจตลาดไม่ได้ซับซ้อนยังเติบโตได้เรื่อยๆ รายเล็กและกลาง ก็ยังทำได้ดี เห็นได้จากโครงการที่มาเปิดใกล้ๆกัน ก็ยังมียอดขายไปได้

อนันต์ ทิ้งท้ายด้วยว่า ต้องการให้บริษัทในตลาดฯ มองบรรทัดสุดท้ายที่ “กำไร”ไม่ต้องมองที่บรรทัดแรก“ยอดขาย” อาจไม่ได้เน้นจำนวนเยอะ แต่หากมาเน้นที่ “คุณภาพ”โครงการก็จะทำให้ได้กำไรต่อหน่วยที่ดีกว่าแน่นอน

http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/788857

แบ่งปันเรื่องราวที่น่าสนใจ

บนช่องทางสื่อออนไลน์ต่างๆ

Share On Line

คัดลอกบทความ